โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 33 – น้ำหนักที่เหมาะสม (1)

โรคระบาดท้องถิ่น (Epidemic) ที่เกิดขึ้น ในสหรัฐอเมริการ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ค่อยๆ มีผลกระทบ (Affect) ต่อชาวอเมริกัน เป็นครั้งแรกที่เด็กในชั่วอายุคน (Generation) ปัจจุบัน มีช่วงอายุคาด (Life expectancy) ที่สั้นกว่ารุ่นพ่อแม่ อันที่จริงในหลายพันปีที่ผ่านมา อายุคาดของคน (Human) ค่อยๆ ทวีความยาวของอายุคาดอย่างสม่ำเสมอ (Steady)

แต่อายุคาด ณ แรกเกิด (At birth) และแม้กระทั่งแต่ละบุคคลที่สูงวัย เริ่มลดระดับลง (Level) และลดลง (Decline) ในครึ่งศตวรรษ (Century) ปัจจุบัน นี่มิใช่เพราะการแพร่ระบาด (Contagion) ของไวรัส และยาหรือโรคชนิดใหม่ ก็มิใช่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์เลย

คำตอบก็คือ นิสัยของสังคม (Societal habit) ได้นำไปสู่การเกิดโรคระบาดท้องถิ่นที่เรียกว่า ภาวะอ้วนเกิน (Obesity) ซึ่งนิยามโดยอัตราส่วน (Ratio) ของน้ำหนัก (Weight) เป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูง (Height) เป็นเมตร ยกกำลัง 2 เรียกว่า ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI)

มีเครื่องคำนวณออนไลน์มากมาย ที่แสดงค่า BMI ผ่านเครื่องค้นหา (Search engine) หลากหลายที่แสดงตัวเลข (Figure) นี้ ซึ่งมีสหสัมพันธ์ (Correlate) กับไขมันของร่างกาย ในผู้คนส่วนมาก ยกเว้นนักกีฬา (Athlete) ซึ่งได้เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ (Muscle mass) อย่างมีนัยสำคัญ

BMI 25 หรือสูงกว่า จัดเป็นประเภท (Categorize) น้ำหนักเกิน (Over-weight) ในขณะที่ 30 หรือสูงกว่า จัดเป็นประเภทอ้วนเกิน (Obese) ตัวอย่างเช่น ผู้ที่สูง 175 เซนติเมตร หนัก 92 กิโลกรัม จะมี BMI = 30 ส่วน BMI = 40 หรือสูงกว่า จัดเป็นประเภทอ้วนเกินอย่างรุนแรง (Severe obesity) และถ้าคนเดียวกันที่สูง 175 เซนติเมตร แต่หนัก 123 กิโลกรัม จะมี BMI = 40.2 ซึ่งจัดประเภทว่าอ้วนเกินอย่างรุนแรง

ปัจจุบัน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินกลายเป็นสิ่งที่เป็นปรกติมากกว่าเมื่อก่อน ในสหรัฐอเมริกา มากกว่า 65% ของผู้ใหญ่มีน้ำหนักเกิน เมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 2018 มีเพียง 42% ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันที่มีน้ำหนักเกิน อันที่จริง อัตราผู้ที่มีน้ำหนักเกินสูงสุด (50%) เป็นชาวอเมริกันผิวดำ ส่วนอัตราผู้ที่มีน้ำหนักเกินต่ำสุด (17%) เป็นชาวอเมริกันเชื้อชาติเอเชีย

ในปีเดียวกัน 9% ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน ได้รับการจัดประเภทว่าอ้วนเกินอย่างรุนแรง โดยมีอัตราของผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000 อัตราผู้อ้วนเกินได้เพิ่มขึ้นถึง 39% ในขณะที่อัตราอ้วนเกินอย่างรุนแรงได้เพิ่มขึ้นอย่างตุปัดตุเป๋ (Staggering) 96% เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1960s อัตราอ้วนเกินในหมู่ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันมีเพียง 13%

ภาวะอ้วนเกินในบรรดาเด็กๆ ก็เป็นความกังวลที่ทวีขึ้น ณ ปี ค.ศ. 2018 มีเพียง 19% ของชาวอเมริกันที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี  ที่อ้วนเกิน โดผู้ที่มีอัตราอ้วนเกินสูงสุดเป็นชาวอเมริกันเชื้อชาติอเมริกาใต้ (Hispanics) (26%) และต่ำสุดเป็นชาวอเมริกันเชื้อชาติเอเชีย (9%)

แหล่งข้อมูล -

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.